Pokemon The Rainbow Badge Pokemon The Rainbow Badge

วิ่งระยะกลาง


วิ่งระยะกลาง

การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การวิ่งในระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร การวิ่งระยะกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานรู้ถึงวิธีการวิ่งที่ถูกต้องและมีทักษะในการวิ่งระยะกลางที่เหมาะสมกับสภาพทางด้านร่างกาย เพศ และวัย

1) เทคนิคในการวิ่งระยะกลาง มีดังนี้

1.1) ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง ( สมมติว่าผู้วิ่งถนัดเท้าขวา) โดยทั่วไปนิยมยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม คือ ยืนให้ปลายเท้าซ้ายจรดหลังเส้นเริ่ม เท้าขวาอยู่อยู่ข้างหลัง ห่างจากเท้าหน้าพอถนัด โน้มลำตัวไปข้างหน้า ยกมือขวาขึ้นระดับหน้าผาก มือซ้ายยกขึ้นระดับเอว งอศอกขึ้นข้างหลังเล็กน้อย ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งอีกแบบหนึ่งอาจใช้ท่าตั้งต้นแบบวิ่งระยะสั้นก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ยันเท้า จุดมุ่งหมายของการตั้งต้นก่อนออกวิ่งแบบนี้เพื่อต้องการเร่งฝีเท้าทำสถิติและเพื่อชิงวิ่งชิดขอบใน ขณะวิ่งเข้าลู่ทางโค้งไม่เสียเปรียบเรื่องระยะทาง

1.2) ท่าทางในการวิ่ง มีลักษณะดังนี้

1) มุมของลำตัว ลำตัวจะโน้มไปข้างหน้าเพียงเล็กน้อยประมาณ 85 องศาหรือเกือบตั้งตรง ศรีษะและคอเป็นเส้นตรงเดียวกับลำตัว ขณะวิ่งไม่ควรเกร็งส่วนใดของร่างกายเพียงแต่ประคองตัวให้นิ่งไหลส่ายเล็กน้อยไปตามแรงเหวี่ยง ของแขน จะสังเกตว่าลำตัวทำมุมกับพื้นมากกว่าการวิ่งระยะสั้น

2) การก้าวเท้า ขณะก้าวเท้าไปข้างหน้าไม่ต้องยกเข่าสูงมาก ก้าวให้สม่ำเสมอปลายเท้าและเข่าทั้งคู่ขนานกันไปข้างหน้า ก้าวด้วยการเหวี่ยงเท้าในลักษณะสืบเท้าไปข้างหน้า ขาหลังเมื่อยกขึ้นจากพื้นแล้วจะเหวี่ยงขึ้นข้างหลังตามสบาย เพื่อผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อ
การวิ่งระยะกลางนี้ จังหวะความเร็วของการก้าวเท้าจะช้ากว่าการวิ่งระยะสั้นความยาวของช่วงก้าวก็สั้นกว่าการวิ่งระยะสั้น ความสูงของเข่าที่ยกขึ้นจากพื้นจะน้อยกว่าการวิ่งระยะสั้น การออกแรงถีบเท้าสปริงขึ้นจากพื้นออกแรงน้อยกว่าการวิ่งระยะสั้น การวางเท้าลงสู่พื้นลงด้วยอุ้งเท้าส่วนการวิ่งระยะสั้นจะลงสู้พื้นด้วยปลายเท้า

3) การแกว่งแขน แขนงอประมาณเกือบมุมฉาก กำมือหลวม ๆ แหว่งขึ้นลงระหว่างระดับลิ้นปี่กับสะโพก ขณะแกว่งแขนขึ้นข้างหน้าให้ตัดเฉียงเข้าหาลำตัวเล็กน้อย ไม่เกร็งส่วนใดของร่างกาย การแกว่งแขนของการวิ่งระยะกลางจะแกว่งเบาและแกว่งต่ำกว่าการวิ่งระยะสั้น

4) การหายใจ การหายใจเข้าทางจมูกและออกทั้งทางจมูกและปาก ซึ่งแตกต่างกับการวิ่งระยะสั้น ซึ่งอาจกลั้นหายใจตลอดระยะทางที่วิ่งหรือหายใจเป็นช่วง ๆ

1.3) การวิ่งทางโค้ง การวิ่งทางโค้งให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการวิ่ง 200 เมตร หรือ 400 เมตร แต่ความเร็วในการวิ่งระยะกลางนี้จะน้อยกว่า จึงทำให้แรงเหวี่ยงออกน้อยกว่า การเอนตัวเข้าหาขอบในของช่องวิ่งจึงมีน้อยกว่า ทำให้การแกว่งแขนใช้แรงน้อยลงกว่าการวิ่งระยะสั้นด้วย

ที่มา : http://www.tuifino.com/Athletics/page%203.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น