Pokemon The Rainbow Badge Pokemon The Rainbow Badge

การวิ่งผลัด

การวิ่งผลัด

การวิ่งผลัด หมายถึง การวิ่งแข่งขันตามระยะทางที่กำหนดเป็นช่วง ๆ โดยมีผู้เข้าแข่งขันเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันเท่า ๆ กันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การวิ่งแต่ละช่วงจะมีการับส่งสิ่งของหรือคฑา (Batkon)ต่อเนื่องกันไปจนหมดระยะทางที่กำหนดไว้

1)เทคนิคในการวิ่งผลัด การวิ่งผลัดเริ่มต้นจาก วิธีถือคฑาตั้งต้นออกวิ่ง การออกวิ่ง วิธีถือคฑาในขณะวิ่ง วิธีส่งและรับคฑา ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่นักเรียนต้องเรียนรู้หมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญทุกขั้นตอน โดยต้องประสานสอดคล้องกับเพื่อนร่วมทีมเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน

1.1)วิธีถือคฑา ในช่วงตั้งต้นก่อนออกวิ่งการถือคฑาของผู้ตั้งต้นในการออกวิ่งคนแรกนั้น ท่าตั้งต้นและการออกวิ่งปฏิบัติ เช่นเดียว
กับท่าตั้งต้นวิ่งระยะสั้นทุกประการแต่ที่เพิ่มขึ้นมาก็คือต้องถือคฑาไว้ด้วย  การถือคฑามีหลายแบบ แล้วแต่จะเลือกตาม
ความถนัดของผู้เข้าแข่งขันแต่มีหลักที่ควรพิจารณาคือคนที่ออกวิ่งด้วยเท้าขวา มักจะถือคฑาด้วยมือซ้ายหรือมือที่เหวี่ยงไป
ข้างหน้าในขณะที่เริ่มวิ่งก้าวแรกไม่ควรถือคฑาด้วยมือที่เหวี่ยงไปข้างหลังในก้าวแรก เพราะคฑาอาจจะหลุดจากมือได้ง่ายเนื่อง
จากมือที่เหวี่ยงไปข้างหลังมีความแรงมากกว่าหรือคฑาอาจจะเหวี่ยงไปถูกสะโพกทำให้คฑาหลุดจากมือได้เช่นกัน ดังนั้นการถือคฑาด้วยมือซ้ายหรือมือที่เหวี่ยงไปข้างหน้าเมื่อใช้เท้าขวายันพื้นข้างหลังจึงได้เปรียบด้วยประการทั้งปวง โดยทั่วไปมีวิธีถือคฑา 5 วิธี ดังนี้
1.2) เทคนิคในการออกตัว ท่าตั้งต้นและการออกวิ่งของผู้ถือคฑาไม้แรกนั้น ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าตั้งต้น และการออกวิ่งระยะสั้น
ทั่วไป เพียงแต่เพิ่มการถือคฑาและระวังไม่ให้คฑาที่ถืออยู่หลุดจากมือเท่านั้น
1.3) วิธีถือคฑาในขณะวิ่งและวิธีเปลี่ยนมือถือคฑา ขณะที่วิ่งและมือถือคฑาอยู่นั้น การแกว่งแขนก็เหมือนกับการแกว่งแขน วิ่งระยะสั้นทั่วไป แต่พยายามให้ปลายคฑาชี้ตรงไปข้างหน้าตามทางวิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้คฑาถูกร่างกายและหลุดจากมือสำหรับการเปลี่ยนมือถือคทาขณะวิ่งนั้น โดยปกติแล้วผู้ส่งคฑาด้วยมือซ้าย และผู้รับจะรับคฑาด้วยมือขวา เพราะถ้าผู้ส่งคฑาด้วยมือขวาและผู้รับรับคฑาด้วยมือขวาเช่นกัน นอกจากทำให้การรับส่งคฑาไม่ถนัดแล้ว อาจจะทำให้ผู้รับและผู้ส่งชนกันเองอีกด้วย นักกรีฑาวิ่งผลัดจึงนิยมส่งคฑาด้วยมือซ้ายรับด้วยมือขวา หรือถ้าส่งคฑาด้วยมือขวาต้องรับด้วยมือซ้าย ด้วยเหตุนี้จึงมีการเปลี่ยนมือถือคฑาในขณะที่วิ่ง การเปลี่ยนมือถือคฑานี้จะทำในช่วงขณะที่
เหวี่ยงแขนสลับกันพอดี การเปลี่ยนมือถือคทาจากมือขวามาถือด้วยมือซ้ายจึงกระทำในช่วงขณะที่เหวี่ยงแขนขวาขึ้นไปข้างหน้า
แล้วกำลัง จะเหวี่ยงแขนขวากลับมาข้างหลัง ซึ่งในช่วงนี้แขนซ้ายกำลังเหวี่ยงขึ้นไปข้างหน้าสลับกันกับแขนขวา มือขวาก็จะส่งคฑาให้มือซ้าย
จับกำไว้ทันที โดยไม่ให้เสียจังหวะการวิ่งอนึ่ง การส่งและการรับคฑาสำหรับวิ่งผลัดระยะสั้น ผู้รับอาจไม่ต้องเปลี่ยนมือหลังจากรับแล้วก็ได้ เช่น เมื่อรับคฑาด้วยมือขวา ก็ถือคฑาด้วยมือขวาไปตลอดทาง แล้วส่งให้มือซ้ายของผู้รับคนหน้าต่อไป สลับกันไปจนถึงคนสุดท้าย แต่พึงเข้าใจว่านักกรีฑาถนัดไม่เหมือนกันหมดทุกคน จึงต้องฝึกซ้อมและเลือกแบบที่ถนัดที่สุด และมีความสัมพันธ์กันอย่างดี

1.4) เทคนิคในการถือคฑาเพื่อส่งแล้วรับ วิธีถือคฑาเพื่อส่งให้ผู้รับเริ่มจากผู้ตั้งต้นออกวิ่งถือคฑาด้วยมือขวา วิ่งไปส่งให้ผู้รับคนที่ 2 ซึ่งยืนชิดชอบของช่องวิ่ง และรับคฑาด้วยมือซ้ายวิ่งไปส่งให้คนที่ 3 ซึ่งยืนชิดขอบซ้ายของช่องวิ่ง และรับไม้คฑาด้วยมือขวา วิ่งไปส่งให้คนสุดท้าย ซึ่งจะยืนชิดขอบขวาของช่องวิ่ง และรับไม้คฑาด้วยมือซ้ายวิ่งไปตลอดระยะทาง

วิธีการรับ - ส่งคฑาแบบนี้นิยมใช้กันในการแข่งขันวิ่งผลัด 4 x 100 เมตร ทั้งนี้เพราะผู้รับไม่ต้องเปลี่ยนมือเมื่อรับคฑาได้แล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องไม้คฑาจะหลุดจามมือในขณะที่เปลี่ยนมือคฑา และทำให้ไม่เสียความเร็วในการวิ่งในช่วงของการเปลี่ยนมือถือคฑา อีกประการหนึ่งผู้ส่งคนที่ 1 สามารถวิ่งชิดขอบในของช่องวิ่งได้ตลอดระยะทาง ส่วนคนที่ 2 และคนที่ 4 ก็สามารถวิ่งชิดขอบนอกได้โดยไม่เสียระยะทางเพราะเป็นทางวิ่งตรง และผู้รับคนที่ 3 ซึ่งวิ่งทางโค้งก็สามารถวิ่งชิดขอบในของช่องวิ่งได้ตลอดระยะทาง สำหรับการวิ่งผลัดประเภทอื่นก็สามารถปรับปรุง หรือดัดแปลงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการวิ่งผลัดประเภทนั้น ๆ ได้ตามความเหมาะสมเช่นกัน

ก. เขตส่งและรับคฑา ตามกติกาการวิ่งผลัดระยะสั้นจะมีเขตกำหนดการส่งและการรับคฑาไว้ ผู้ส่งและผู้รับจะทำการเปลี่ยนการถือคฑากันมือต่อมือได้ จะต้องอยู่ภายในเขต 20 เมตรเท่านั้น เขตนี้นับจากระยะทางเต็มขึ้นไปข้างหน้า 10 เมตร และถอยหลังลงมา 10 เมตร จึงรวมกันเป็น 20 เมตร แต่อนุญาตให้ผุ้รับถอยไปต่ำกว่าเขตรับส่งได้จริงอีก 10 เมตร แต่ระยะ 10 เมตรที่กล่าวนี้ผู้รับจะแตะคฑาไม่ได้ นอกจากมีไว้เพื่อให้ผู้รับคฑาใช้สำหรับวิ่งเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับผู้ที่จะส่งให้เท่านั้น เขตหลังนี้ผู้รับจะไม่ใช้ก็ได้ผู้ส่งเมื่อวิ่งมาถึง ช่วงระยะที่จะส่งคฑาได้ ให้เหยียดแขนที่ถือคฑาซึ่งเป็นจังหวะที่แกว่งแขนไปข้างหน้าแล้วตีคทาลงบนฝ่ามือของผู้รับ แล้ววิ่งต่อไปโดยชะลอฝีเท้าลงเรื่อย ๆ เมื่อผู้ส่งตีคทาลงบนฝ่ามือแล้วผู้รับรีบกำคฑาวิ่งต่อไปทันทีข. วิธีส่งและรับคฑาแบบงอแขนคว่ำมือ
ลักษณะท่าทางการยืนและสายตาการมองของผู้รับคทาแบบคว่ำมือให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการยืนรับคทาแบบหงายมือ แต่มือขวาที่ใช้รับคฑาให้ยกมือขึ้นระดับเอว ปลายนิ้วหัวแม่มือแตะเอว หรือห่างเอวเล็กน้อย นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันและกางออกจากนิ้วหัวแม่มือมาก ๆ บิดข้อมือหันฝ่ามือไปข้างหลัง ปลายนิ้วทั้งหมดชี้ลงสู่พื้นเฉียงไปข้างหลังเล็กน้อย
ผู้รับคทาใช้สายตามองอยู่ที่หมายหรือตำแหน่งที่กำหนดไว้ เมื่อเท้าของผู้ส่งคฑาวิ่งมาเหยียบที่หมาย ผู้รับจะหันหน้าตรงออกวิ่งอย่างเร็วโดยไม่มองผู้ส่งอีก ขณะวิ่งแขนซ้ายจะแกว่งไปมาตามปกติมือขวาจะไม่แกว่งไปมา เพราะจะทำให้ผู้ส่งส่งคฑาได้ยาก ผู้ส่งเมื่อวิ่งมาถึงช่วงระยะที่จะส่งคทาได้ให้เหยียดแขนที่ถือคฑา ซึ่งเป็นจังหวะที่แกว่งแขนไปข้างหน้าแล้วตีคฑาขึ้นไป ให้คฑาเข้าไประหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ของมือผู้รับ แล้ววิ่งต่อไปโดยชะลอฝีเท้าลงเรื่อย ๆ ผู้รับเมื่อคฑาถูกมือแล้วให้รีบกำและดึงคฑาวิ่งต่อไป

ที่มาhttp://www.tuifino.com/Athletics/page%204.htm

4 ความคิดเห็น: