Pokemon The Rainbow Badge Pokemon The Rainbow Badge

กติกาการวิ่ง

กติกาการวิ่ง

กติกาข้อ 1
ส่งอำนวยการความสะดวกของสนามกรีฑา  (The Athletic Facility)

สนามที่มีผิวหน้าเป็นแบบเดียวกันและมั่นคงแข็งแรงตรงตามที่คู่มืออำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ  IAAF กำหนดจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้ การแข่งขันกรีฑาประเภทประเภทลู่และประเภทลานภายใต้กติกาข้อ 12.1 a, b, c, d และการแข่งขันที่ IAAF ควบคุมโดยตรงจะต้องใช้สนามที่ผิวลู่ทำด้วยยางสังเคราะห์เท่านั้นและต้องโดยตรงจะต้องผ่านความเห็นชอบรับรองว่าเป็นชั้น 1 จาก IAAF จึงจะอนุญาตให้จัดการแข่งขันได้
เป็นข้อแนะนำว่า เมื่อสามารถใช้ลู่ยางสังเคราะห์ได้  การแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e), (f), (g), และ (h) ก็ควรใช้ลู่ยางสังเคราะห์
ในทุกรายละเอียดของเอกสารประกอบที่รับรองความถูกต้องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งประเภทลู่และประเภทลานตามแบบแผนใต้ระบบการรับรองของ IAAF ซึ่งต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดในการแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (h)
หมายเหตุ  1:    หนังสือคู่มือสิ่งอำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF   ซึ่งพิมพ์ในปี 1999 สามารถซื้อได้จากกองเลขาธิการของ IAAF   ในเล่มบรรจุเนื้อหาและคำอธิบายไว้อย่างครอบคลุม ระบุถึงการวางแผนและการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของกรีฑาประเภทลู่ประลาน รวมทั้งแผนผังการวัดระยะและการทำเครื่องหมายต่าง ๆ 
หมายเหตุ 2:   แผนผังมาตรฐานที่รับรองแล้วของการวัดระยะสิ่งของอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ สามารถติดต่อขอได้จาก IAAF   และศึกษาได้จากเครือข่าย (Website) ของ IAAF  
หมายเหตุ 3:  กติกาข้อนี้ไม่ใช่กับการแข่งขันวิ่งและการแข่งขันเดินที่อยู่ในประเภทถนนและวิ่งข้ามทุ่ง
กติกาข้อ 2
กลุ่มอายุ  (Age Group)

กลุ่มอายุต่อไปนี้สามารถใช้กับการแข่งขันของ  IAAF ได้  
ยุวชนชายและหญิง :  คือนักกรีฑาที่มีอายุ 16 หรือ 17 ปี โดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
เยาวชนชายและหญิง :  คือนักกรีฑาที่มีอายุ 18 หรือ 19 ปีโดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
สูงอายุ  ชาย :  นักกรีฑาชายอายุ 40 ปีบริบูรณ์
สูงอายุหญิง :  นักกรีฑาหญิงอายุ 35 ปีบริบูรณ์
หมายเหตุ  :  เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันสูงอายุ แนะนำให้ใช้หนังสือคู่มือ IAAF/WAVA ซึ่งผ่านการรับรองจากสภาของ IAAF และ WAVA 

กติกาข้อ 3
การสมัคร  (ENTRIES)

1.  การแข่งขันภายใต้กติกาของ IAAF จำกัดสำหรับนักกรีฑาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกติกาของ IAAF เท่านั้น
2. ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาคนใดเข้าร่วมการแข่งขันนอกประเทศของตน นอกจากเขาจะได้รับรองสถานภาพจากสมาคมกรีฑาแห่งประเทศของตนอนุญาตให้เข้าแข่งได้ การแข่งขันระหว่างประเทศ   และการรับรองสถานภาพของนักกรีฑาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับได้ นอกจากจะมีการคัดค้านเกี่ยวกับสถานภาพของเขาได้ถูกเสนอต่อ IAAF   เท่านั้น

การแข่งขันพร้อมกันหลายรายการ
3.  ถ้าผู้เข้าแข่งขันสมัครเข้าแข่งขันทั้งประเภทลู่และลานหรือในประเภทลานมากกว่าหนึ่งรายการ ซึ่งจะต้องแข่งขันพร้อมกันผู้ชี้ขาดอาจยินยอมให้นักกรีฑาทำการแข่งขันรอบในเวลาหนึ่งหรือทำการประลองแต่ละครั้งในการกระโดดสูงและกระโดดค้ำ และอนุญาตให้ผู้แข่งขันทำการประลองแตกต่างไปจากลำดับที่ได้กำหนดไว้ก่อนเริ่มการแข่งขันได้ ถ้านักกรีฑาผู้นั้นไม่อยู่เพื่อทำการประลอง   ถือว่าขอผ่านการประลองหนึ่งครั้งเมื่อการประลองรอบนั้น ๆ ผ่านไป

กติกาข้อ 4.
เสื้อผ้า  รองเท้า และหมายเลขประจำตัวนักกรีฑา (CLOTHING, SHOES AND NUMBER BIBS)

เสื้อผ้า
1.  ในการแข่งขันกรีฑาทุกรายการ นักกรีฑาจะต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด ออกแบบอย่างเหมาะสม และสวมใส่ไม่ดูน่าเกลียดเสื้อผ้าจะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่โปร่งบางแม้เวลาเปียกน้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่สวมเสื้อผ้าซึ่งอาจขัดขวางสายตาของผู้ตัดสิน
การแข่งขันทั้งหมดภายในกติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (e) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ การแข่งขันทั้งหมด ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e) (สโมสรชิงถ้วย) ถึง (h) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ หรือที่สโมสรกำหนดอย่างเป็นทางการ พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ และให้เกียรติใด ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันความมุ่งหมายของกติกาข้อนี้
รองเท้า
2.  ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าแข่งขันด้วยเท้าเปล่า  สวมรองเท้าข้างเดียวหรือสองข่างก็ได้  จุดมุ่งหมายที่สวมรองเท้าเข้าแข่งขันก็เพื่อป้องกันเท้า  ทำให้เท้ามั่นคง กระชับกับพื้นสนาม อย่างไรก็ตามรองเท้าดังกล่าวนี้ต้องไม่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เข้าแข่งขันได้เปรียบ   จะต้องไม่มีสปริงหรือเครื่องมือใด ๆ  ติดอยู่กับรองเท้า  จะมีสายรัดหลังเท้าด้วยก็ได้  การแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (b)  ที่แข่งขันมากกว่าหนึ่งวัน  เจ้าหน้าที่ทีมจะต้องรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเรื่องรองเท้าที่นักกรีฑาสวมแข่งขันต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน   ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาเปลี่ยนไปใช้รองเท้าคู่อื่น  ตลอดเวลาการแข่งขันนั้น   นักกรีฑาที่แข่งขันประเภทรวมจะต้องรายงานว่าในแต่ละรายการ  จะสวมใส่รองเท้าอะไร

จำนวนตะปูรองเท้า
3.  พื้นรองเท้าและส้น ให้มีตะปูได้ข้างละ 11 ตัว จะใช้จำนวนเท่าใดก็ได้แต่ไม่เกิน 11 ตัว

ขนาดของตะปูรองเท้า
4.  การแข่งขันในลู่ยางสังเคราะห์  ความยาวของตะปูที่ยื่นจากพื้นรองเท้าและส้นต้องไม่ยาวเกินกว่า  9  มิลลิเมตร  นอกจากในการกระโดดสูงและการพุ่งแหลน  ให้ยาวไม่เกิน 12 มิลลิเมตร  ตะปูเหล่านี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด  4 มิลลิเมตร  ความยาวของตะปูไม่เกิน  25 มิลลิเมตร  และเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน  4 มิลลิเมตร  อนุญาตให้ใช้ได้ในสนามที่ลู่วิ่งไม่ได้ทำด้วยยางสังเคราะห์

พื้นรองเท้าและส้นรองเท้า
5.  พื้นรองเท้าและส้นอาจเป็นร่อง เป็นสัน เป็นลอนบางหรือมีปุ่มยื่นออกมาก็ได้ แต่ลักษณะต่าง ๆ   เหล่านี้จะต้องทำขึ้นมาจากวัสดุที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับพื้นรองเท้านั้น ในการกระโดสูงและกระโดดไกลพื้นรองเท้าจะมีความหนาได้ไม่เกิน 13 มิลลิเมตร และส้นรองเท้าของกระโดดสูงจะมีความหนาได้ไม่เกิน 19 มิลลิเมตร ในการแข่งขันชนิดอื่น ๆ ทั้งหมดพื้นรองเท้าและ/หรือส้นรองเท้าจะมีความหนาแตกต่างกันไป

สิ่งที่สอดใส่และเพิ่มเติมแก่รองเท้า
6.  ผู้เข้าแข่งขันไม่ควรใช้อุปกรณ์ใด ๆ อื่น อีกทั้งภายในและภายนอกรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้าเพิ่มเติมขึ้นเกินกว่าระดับสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ หรือสามารถทำให้ผู้สวมได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งแตกต่างจากการใช้รองเท้าตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ผ่านมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น